New IT Product

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผักสวนครัว รั้วกินได้(ต่อไป)

                       ต้องการซื้อที่ดิน สำหรับ การเกษตรครบวงจร, ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง  
              เราต้องการซื้อที่ดิน ตั้งแต่ 70-7,000ไร่/แปลง สำหรับ การเกษตรครบวงจร(การทำนา,การเลี้ยงปลา, การเลี้ยงสัตว์ปีก, การเลี้ยงสัตว์สี่เท้า, การเพาะเห็ด,การปลูกไม้ผล), ไร่นาสวนผสม, การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน, การเกษตรปลอดสารพิษ ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง และ การเกษตรธุรกิจ(ยางพารา, มันสำปะหลัง,อ้อย ฯลฯ ) เอกสารสิทธิ์ เป็น โฉนด, นส.3ก. นส.3  ราคาตามสภาพท้องถิ่น พร้อมให้คำปรึกษา การดำเนินการ สนใจขายที่ดิน ติดต่อด่วน โทร.084-2184401 
E-mail; sufficiency7economy@gmail.com
http://sufficiency7economy.blogspot.com/


 วิธีการปลูกผักสวนครัว









ต่ออีกหน่อย (ต่อไป) 

การปลูก อ้อย(Sugar cane Planting)

การปลูก อ้อย(Sugar cane Planting)


          ต้องการซื้อที่ดิน สำหรับ การเกษตรครบวงจร, ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง  
              เราต้องการซื้อที่ดิน ตั้งแต่ 70-7,000ไร่/แปลง สำหรับ การเกษตรครบวงจร(การทำนา,การเลี้ยงปลา, การเลี้ยงสัตว์ปีก, การเลี้ยงสัตว์สี่เท้า, การเพาะเห็ด,การปลูกไม้ผล), ไร่นาสวนผสม, การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน, การเกษตรปลอดสารพิษ ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง และ การเกษตรธุรกิจ(ยางพารา, มันสำปะหลัง,อ้อย ฯลฯ ) เอกสารสิทธิ์ เป็น โฉนด, นส.3ก. นส.3  ราคาตามสภาพท้องถิ่น พร้อมให้คำปรึกษา การดำเนินการ สนใจขายที่ดิน ติดต่อด่วน โทร.084-2184401 
E-mail; sufficiency7economy@gmail.com
http://sufficiency7economy.blogspot.com/

 การปลูกอ้อย
เทคโนโลยีการปลูก 
การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก
1. ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร
2. ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
3. การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก


--------------------------------------------------------------------------------

การเตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง
2. ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
3. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------

วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย


--------------------------------------------------------------------------------

การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ
1. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่
2. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่


--------------------------------------------------------------------------------

การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้
1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก


การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย


--------------------------------------------------------------------------------

การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน 

--------------------------------------------------------------------------------

การบำรุงตออ้อย
1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา
2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก
3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย
4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน
6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่








การปลูกมันสำปะหลัง

การปลูกมันสำปะหลัง(Cassava)

          ต้องการซื้อที่ดิน สำหรับ การเกษตรครบวงจร, ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง  
              เราต้องการซื้อที่ดิน ตั้งแต่ 70-7,000ไร่/แปลง สำหรับ การเกษตรครบวงจร(การทำนา,การเลี้ยงปลา, การเลี้ยงสัตว์ปีก, การเลี้ยงสัตว์สี่เท้า, การเพาะเห็ด,การปลูกไม้ผล), ไร่นาสวนผสม, การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน, การเกษตรปลอดสารพิษ ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง และ การเกษตรธุรกิจ(ยางพารา, มันสำปะหลัง,อ้อย ฯลฯ ) เอกสารสิทธิ์ เป็น โฉนด, นส.3ก. นส.3  ราคาตามสภาพท้องถิ่น พร้อมให้คำปรึกษา การดำเนินการ สนใจขายที่ดิน ติดต่อด่วน โทร.084-2184401 
E-mail; sufficiency7economy@gmail.com
http://sufficiency7economy.blogspot.com/

การสังเกตุพันธุ์มันสำปะหลังในเบื้องต้น
ให้สังเกตุในส่วนของก้านใบ พันธุ์ระยองนั้นก้านใบจะมีสีแดง ในส่วนของเกษตรศาสตร์จะมีก้านใบสีเขียวอ่อนหรือสีขาว และห้วยบงจะมีก้านสองสี เนื่องจากห้วยบงเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ระยอง กับพันธุ์เกษตรศาสตร์
การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังระยะต่าง ๆ สำคัญมาก ประโยชน์เพื่อให้เราได้ดูแลมันสำปะหลังตรงกับความต้องการ และได้ผลผลิตสูงที่สุด การเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง แบ่งเป็น 5 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1. ระยะท่อนพันธุ์งอกและตั้งตัว อยู่ในช่วงระยะเวลา 2-3 สัปดาห์หลังปลูก
ระยะที่ 2. ระยะพัฒนาทรงพุ่ม เป็นระยะที่เริ่มแตกกิ่งก้านและสร้างใบ เริ่มต้นตั้งแต่เดือนที่ 2
ระยะที่ 3. ระยะพัฒนารากและสะสมอาหาร ระยะนี้มันสำปะหลังจะลำเลียงแป้งไปสะสมไว้ที่หัว ตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป
ระยะที่ 4. ระยะพักตัว เป็นช่วงที่มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติมโต และมีการทิ้งใบ หลังจากเดือนที่ 14
ระยะที่ 5. ระยะฟื้นตัว มันสำปะหลังจะนำเอาอาหารจากหัวขึ้นมาสร้างใบใหม่
การปลูกมันสำปะหลังเราจะไม่ปล่อยให้เลยไปจนถึงระยะที่ 4 ควรขุดขึ้นมาในช่วงอายุ 10 – 14 เดือน
วิธีการปลูกมันสำปะหลัง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่สูงสุด


1. การเตรียมดิน
ต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุดเนื่องจากมันสะปะหลังเป็นพืชที่ปลูกเพื่อเอาหัวที่อยู่ใต้ดิน หากดินแน่นมันสำปะหลังจะเติบโตได้ไม่ดี ทำโดยการไถผาน 3 และผาน 7 หลังจากนั้นยกร่องห่างกันหัวร่อง 1 เมตร
แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับยิปซัม อัตรา 50-100 กก.ต่อไร่ เพื่อการรองพื้นในขั้นตอนการไถยกร่อง เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ อุดมไปด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วน ประกอบด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งเป็นอาหารที่ให้พืชนำไปใช้ได้ทันที และยิปซัมทำให้ดินไม่แน่น และยังทำให้ธาตุอาหารปลดปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ เพื่อค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารหล่อเลื้ยงให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารรองอีกมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อเตรียมดินแล้วให้ฉีดยาคุมวัชพืช(อะลาคลอร์) เพื่อคุมวัชพืชในช่วงแรก
-         ปุ๋ยอินทรีย์ +  + อะลาคลอร์

2. ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุ 8-12 เดือน ขนาดความยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตร การตัดท่อนพันธุ์ยาวและปักลงดินครึ่งต่อครึ่ง จะช่วยให้มันสำปะหลังเกิดหัวมากขึ้น และมีการเจริญเติบโตพัฒนาทรงพุ่มได้ดีขึ้น และสามารถเกิดใบคลุมหญ้าได้เร็ว ขจัดปัญหาเรื่องหญ้าโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้า เนื่องจากยาฆ่าหญ้าจะทำให้มันสำปะหลังชะงักการเติบโตเป็นเวลานาน เมื่อถึงเวลาจะได้มันสำปะหลังหัวไม่โต แต่ถ้ามีหญ้าขึ้น สามารถใช้ยาฆ่าหญ้าแบบสัมผัส(พาราควอต) โดยการฉีดโคนต้น ระวังไม่ให้โดนใบได้
ก่อนปลูกแนะนำให้ใช้น้ำยาจุ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังประสิทธิภาพสูง เช่น ฮิวมิคชนิดน้ำ ช่วยเร่งรากเพิ่มอาหารในท่อนพันธุ์ ช่วยในการเจริญเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น
และสำหรับพื้นที่ ๆ มีโรครา และแมลงระบาดป้องกันโดยผสมสาร​ไธอะมี​โท​แซม(แมลงโดยเฉพาะเพลี้ยแป้ง) 4 กรัม ​แคป​แทน(ราชั้นต่ำ) 120 กรัม ​และคาร์​เบนดาซิม(ราชั้นสูง) 120 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ​เป็น​เวลานาน 5 นาที
-         ฮิวมิค + ไธอะมี​โท​แซม + แคป​แทน + คาร์​เบนดาซิม

3. การปลูก
ให้ปลูกแบบยกร่องระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร ห่างระหว่างร่อง 1 เมตร หากในขั้นตอนการทำรุ่นหญ้าใช้รถไถเล็กเข้าไประหว่างร่อง ให้ขยับความห่างระหว่างร่องเพิ่มขึ้นเป็น 1.20 เมตร การปักท่อนพันธุ์ควรปักลึกลงไปประมาณ 15-20 เซนติเมตร การปลูกมันสำปะหลังนั้น หากเราเว้นระยะระหว่างต้นถี่เกินไป จะส่งผลให้มันสำปะหลังหัวไม่โต เนื่องจากหัวของมันสำปะหลังจะชนกันและหยุดการเจริญเติบโต
4. เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือน ให้ไถทำรุ่นหญ้าพร้อมกับใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
ใช้รถไถเล็กเข้าไประหว่างร่องเพื่อจัดการกับหญ้า เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน รวมถึงประยัดต้นทุนการผลิต
ช่วงเดือนที่ 1 ของมันสำปะหลังเป็นระยะพัฒนาทรงพุ่ม แตกกิ่งก้าน ช่วงนี้มันสำปะหลังต้องการธาตุอาหารที่เป็นไนโตรเจนสูง ในขณะเดียวกันธาตุอาหารรองต่างๆก็ขาดไม่ได้เช่นกัน แนะนำให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมีผสมที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อให้ใบพัฒนาต่อไป

- ปุ๋ยอินทรีย์เคมีตัวหน้าสูง หรือปุ๋ยยูเรีย
การฉีดพ่นทางใบช่วงระหว่างเดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 3
การฉีดพ่อทางใบหรือการใช้น้ำทางใบ จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการส่งเสริมให้ต้นมันสำปะหลังแข็งแรง ปลอดโรคและแมลง และยังส่งเสริมใช้มันสำปะปลังมีใบคลุมหญ้าได้เร็วโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า ช่วงนี้ แนะนำให้ฉ ฮิวมิคน้ำ เพื่อให้ลำต้นแข็งแรงมากขึ้นร่วมกับยาฆ่าแมลง หรือยารักษารา ในกรณีพี่พบอาการ แต่ถ้าเป็นช่วงฝนตก อาจใช้ฮิวมิคชนิดเม็ด หรือผลก็เพียงพอ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
-         ฮิวมิคน้ำ , ฮิวมิคเม็ด หรือผง , Zn
-         ยาฆ่าแมลง ,ยารักษารา
5. ช่วง 3-6 เดือนระยะสะสมแป้งของมันสำปะหลัง
ระยะนี้มันสำปะหลังจะเริ่มดึงธาตุอาหารจากใบ ลำเลียงผ่านทางลำต้นเพื่อนำไปสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง เราควรให้ธาตุอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เนื่องจากโปแตสเซียมมีส่วนช่วยในการขยายท่อลำเลียงอาหาร และทำให้ขบวนการลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวมันสำปะหลังเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ช่วงนี้แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเร่งลงหัว เช่น 18-4-20 หรือ สูตรที่มีครบทุกตัวโดยตัวท้ายสูงที่สุด จะส่งผลให้มันสำปะหลังมีขนาดหัวใหญ่ขึ้น และยังช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นสำหรับการปลูกในฤดูการถัดไป
การฉีดพ่นทางใบในช่วงนี้ ถ้ามีแมลง หรือโรค ให้ฉีดรักษาตามอาการ ร่วมกับฮอร์โมนลงหัว จะช่วยให้หัวใหญ่ยิ่งขึ้นมาก
-         ปุ๋ยเร่งหัว , ฮอร์โมนเร่งหัว
-         ยาฆ่าแมลง ,ยารักษารา
6. ช่วงเดือนที่ 10-12 ให้ทำการเก็บเกี่ยว







 

Rubber plantations(สวนยางพารา)

Rubber plantations(สวนยางพารา)

 

          ต้องการซื้อที่ดิน สำหรับ การเกษตรครบวงจร, ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง  
              เราต้องการซื้อที่ดิน ตั้งแต่ 70-7,000ไร่/แปลง สำหรับ การเกษตรครบวงจร(การทำนา,การเลี้ยงปลา, การเลี้ยงสัตว์ปีก, การเลี้ยงสัตว์สี่เท้า, การเพาะเห็ด,การปลูกไม้ผล), ไร่นาสวนผสม, การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน, การเกษตรปลอดสารพิษ ทำฟาร์ม หรือ จัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง และ การเกษตรธุรกิจ(ยางพารา, มันสำปะหลัง,อ้อย ฯลฯ ) เอกสารสิทธิ์ เป็น โฉนด, นส.3ก. นส.3  ราคาตามสภาพท้องถิ่น พร้อมให้คำปรึกษา การดำเนินการ สนใจขายที่ดิน ติดต่อด่วน โทร.084-2184401
E-mail; sufficiency7economy@gmail.com
http://sufficiency7economy.blogspot.com/




 การปลูก- วัสดุปลูก
- วิธีการปลูก
- พันธุ์ยาง

size 8 kb

  ต้นตอตา หมายถึง ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วย
ยางพันธุ์ดี แต่ตายังไม่แตกออกมา มีแผ่นตาและตาที่เป็น
ตุ่มติดอยู่เท่านั้น ขุดถอนแล้วตัดต้นเดิมเหนือแผ่นตาขึ้น
ไปไม่น้อยกว่า 8 ซม. เพื่อนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมพื้น
ที่ไว้แล้ว

size 7 kb  ต้นยางชำถุง หมายถึง วัสดุปลุกที่ได้จากการนำเอาต้นตอตา
มาชำในถุง โดยใช้เวลาชำถุง ในถุงประมาณ 2-3 เดือน
จนได้ต้นยาง ชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร มีสภาพ พร้อม ที่จะนำไปปลูก
ในแปลงได้ ขนาดถุง ที่ใช้ชำ คือ 5 X 15 นิ้ว สีดำเจาะรูขนาด 3
มม. ประมาณ 3 แถว ๆ ละ 5-7 รู 

 วิธีการปลูก ให้ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
1. ปลูกด้วยต้นตอตา
- เลือกต้นตอตาที่สมบูรณ์ ตานูนโตเห็นเด่นชัด
- กลบหลุมที่เตรียมไว้แล้ว ใช้ไม้ปลายแหลม ขนาดเล็กกว่า
ต้นตอ เล็กน้อย แทงกลางหลุมให้ลึกเท่า ความยาวของราก
- นำต้นตอมาปักตามรอยแทง ให้แผ่นตาอยู่แนวเหนือ - ใต้
และอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 1 ซม.
- กลบดินจนเสมอปากหลุมอัดดินให้แน่น โดยให้ดินบริเวณ
โคนยางสูงกว่าเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำขังในหลุม
- คลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือเศษพืชคลุม หรือเศษวัสดุ
คลุมดินที่ หาง่าย ในท้องถิ่น

2. ปลูกด้วยยางชำถุง

- ใช้ต้นยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร ควรเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช
- ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม
- ใช้มีดเฉือนก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว แล้วกรีดด้านข้างถุงให้ขาดจากกัน แต่ยังไม่ดึงถุงออก
นำไปวาง ในหลุม ทยอยกลบดินลงหลุม จนเกือบเต็มหลุม แล้วดึงถุงพลาสติกออก อย่าให้ดิน
ในถุ งพลาสติกแตกกลบดินจนเสมอปากหลุม และอัดดิน ให้แน่นให้โคนต้นยางสูงกว่าเล็กน้อย
เพื่อมิให้น้ำขังในหลุม
 พันธุ์ยางการเลือกพันธุ์ยาง
- เลือกพันธุ์ยางที่มีความต้านทานต่อโรคระบาดในท้องถิ่น
- เลือกพันธุ์ยางควรพิจารณาถึงลักษณะภูมิประเทศ เช่น พื้นที่ที่มีลมแรง เลือกพันธุ์ที่ต้านทาน แรงลมได้ดี
- เลือกพันธุ์ยางให้เหมาะกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกต้องเหมาะสมกับความลึกของหน้าดิน
- พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกต้องเหมาะสมกับสภาพความลาดชันของพื้นที่
- พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกต้องเหมาะสมกับระยะปลูก

พันธุ์ยางที่แนะนำ

RRIT 251 สงขลา 36 BPM 24 PB 255 PB 260 PR 255 RRIC 110 RRIM 600

- RRIT 251 
- สงขลา 36 
- BPM 24
- PB 255 
- PR 255 
- RRIC 110
- RRIM 600

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา. พิมพ์ครั้งที่ 1: 2544 
สำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง , การปลูกยางพารา . พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2545









สวนยางพารา  ต่อไป